ทำไมคอมพิวเตอร์ ถึงต้องมี IP Address กันนะ

ทำไมคอมพิวเตอร์ ถึงต้องมี IP Address กันนะ

มาทำความรู้จักับ IP Address กันเถอะ

     IP Address หรือ Internet Protocal Address เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายที่ใช้โปตโตคอลแบบ TCP/IP สามารถระบุที่ตั้งของคอมพิวเตอร์นั้นๆได้ ซึ่ง 1 อุปกรณ์จะมี 1 IP Address และแต่ละคอมพิวเตอร์จะมี IP Address ไม่ซ้ำกันประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด อย่างเช่น 198.168.1.1, 255.255.255.0 เป็นต้น ในปัจจุบันมาตรฐานของ IP Address คือ IPv4(เป็น 32 บิต)และ IPv6(เป็น 64 บิต) ซึ่ง IP Address สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  • รูปแบบที่ 1 Network Address หมายเลขประจำเครื่อง Router เป็นแบบ Publish โดยใช้ IP Address จะออกทาง Gateway หรือออกทางอินเตอร์เน็ต
Network address
  • รูปแบบที่ 2 Computer Address หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย เป็บแบบ Private โดยใช้ subnet เดียวกันในการติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
Computer address

Class ของ IP address สามารถแบ่งได้ตามนี้

  • Class A มีหมายเลข IP address ตั้งแต่ 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 มี IP address ทั้งหมด 16 ล้านหมายเลข เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่
  • Class B มีหมายเลข IP address ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มี IP address ทั้งหมด 65,000 หมายเลข เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง
  • Class C มีหมายเลข IP address ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มี IP address ทั้งหมด 254 หมายเลข เหมาะสำหรับองค์ขนาดเล็กหรือผู้ใช้งานในครัวเรือน
  • Class D มีหมายเลข IP address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 จะใช้ในเครือข่าแบบ Multitask
  • Class E มีหมายเลข IP address ตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 เป็น Class ที่จะใช้สำหรับอนาคต ในปัจจุบันจึงยังไม่ได้กำหนดการใช้งาน

 

วิธีการตรวจสอบ IP address

มีขั้นตอนดังนี้
  1. กดปุ่ม Windows+R บนคีบอร์ดจะขึ้นหน้าต่างตามภาพข้างล่างนี้ จากนั้นพิมพ์ cmd แล้วกด ok หรือ กดปุ่ม Enter
วิธีการตรวจสอบ IP address cmd

2. หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Command ขึ้นมาให้พิมพ์ว่า ipconfig แล้วกดปุ่ม Enter จะแสดงหมายเลข IP address ตรวจสอบที่ Ipv4 address, Subnet Mask, Default Gateway เสร็จสิ้นการตรวจสอบ IP address

วิธีการตรวจสอบ IP address ipconfig

วิธีการ config IP address(Windows 10)

  1. ทำการ Click ขวาที่รูปอินเตอร์เน็ตหรือรูปไวไฟทางด้านซ้ายล่าง จากนั้น Click ไปที่ “Open Network & Internet settings”
config ip address

2. ต่อจากนั้นให้ทำการ Click ไปที่ Ethernet Icon ทางด้านซ้าย หลังจาก Click แล้วให้เลือกไปที่ “Change adater options” แล้ว Click เข้าไป

config ip address 2

3. ถัดจากนั้นให้ทำการ Click ขวาที่ Ethernet Icon แล้วเลือก Click “Properties”

config ip address 3

4. เมิ่อ Click เรียบร้อยแล้วจะขึ้นหน้าต่าง Ethernet Properties จากนั้น Click ไปที่ “Internet Protocol Version 4 (TPC/IPv4)”

config ip address 3

5. หลังจากที่ Click เข้าไปที่ Internet Protocol Version 4 (TPC/IPv4) เรียบร้อยแล้วก็จะขึ้นหน่าต่าง Internet Protocol Version 4 (TPC/IPv4) Properties ให้ทำการเลือก “Use the following IP address” แล้วทำการตั้งค่าที่ IP address, Subnet mask, Default gateway(ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าก็ได้ แต่ถ้าอยากให้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อม Internet ได้จำต้องตั้งค่ากรณีไม่เชื่อมต่อ Internet ก็ไม่สามารถเชื่อม Internet ได้เช่นกัน ) เสร็จสิ้นการ Config IP address

config ip address 5
ระบบ NAS คืออะไร??

ระบบ NAS คืออะไร??

ระบบ NAS

  • ระบบ NAS เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคชนิดนึงที่สามารถกักเก็บหรือสำรองข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่าย NAS(Network Attached Storage) โดยหน้าที่ของ NAS เปรียบเสมือนกล่องบรรจุ Hard Disk ที่มีรูปแบบคล้ายกับคอมพิวเตอร์แต่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรือก็คือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำงานเฉพาะทาง ซึ่ง NAS มีมากมายหลายรุ่นและมีฟังก์ชั่นต่างๆ ตัวอย่างเช่น File Server ที่สามารถสร้าง File Server ด้วยตัวเองได้, Backup Server ที่สามารถสำรองข้อมูล Server อัติโนมัติได้ เป็นต้น ในปัจจุบัน องค์กรนิยมใช้ NAS กันทั่วโลกเนื่องด้วยการจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและรวมไปถึงการขยายพื้นที่ข้อมูลได้ง่ายโดยการเปลี่ยน Hard Disk ให้มากขึ้น
Nas image

ความสามารถของ NAS

  • สามารถสร้างไฟล์ส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานแต่ละคนได้
  • สามารถสร้างไฟล์แชร์ให้กับกลุ่มผู้ใช้งานแต่ละคน ให้มีสิทธิ์เขียนและอ่านไฟล์ได้
  • สามารถจัดเก็บ/สำรองข้อมูลและ Back up ข้อมูลได้
  • รองรับในการใช้งานร่วมกับ Server

ประเภทงานที่ใช้ NAS

  • จัดเก็บ/สำรองข้อมูลในองค์กร
  • แชร์เอกสารภายในองค์กร
Access Point คืออะไร

Access Point คืออะไร

Access Point (AP) เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยขยายสัญญาณ WIFI ให้มีระยะการส่งสัญญาณให้กว้างมากขึ้น และเสถียรมากขึ้นผ่านการรับสัญญาณจากสาย Lan ที่เชื่อมต่อกับ Router หรือ เชื่อมต่อกับ Network Switch ทำให้เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในพื้นที่กว้าง อย่างพื้นที่ในอาคาร ออฟฟิศ บ้านหลายๆชั้น ได้โดยไม่ติดขัด โดยส่วนมากแล้ว Access Point มักจะมีพอร์ตหลักเพียงพอร์ตเดียวเท่านั้น แต่ใน Access Point บางรุ่นก็อาจมีพอร์ตให้เลือกเชื่อมต่อถึง 4 พอร์ตเพื่อรองรับความเร็วอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกัน

การเลือกใช้ Access Point ควรดูสเปกของตัว Router และอุปกรณ์ที่ต้องต่อ WIFI ด้วย ว่ารองรับ WIFI เวอร์ชั่นอะไร และเลือกใช้งาน Access Point ให้ตรงกันเพื่อให้ที่จะกระจายสัญญาณได้ลื่นไหลมากขึ้น สิ่งสำคัญในการเลือกใช้งาน Access Point ก็ต้องดูเรื่องของ จำนวนผู้ใช้ และ พื้นที่ ที่จะติดตั้ง Access point ด้วย

การเลือก Access Point จากจำนวนผู้ใช้งาน 

  • Access Point แบบใช้งานทั่วไป เป็น Access Point ที่ใช้งานทั่วไปในสำนักงานเล็กๆ ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับใช้งานออฟฟิศที่มีคนน้อย สูงสุด 25 คน/เครื่อง แล้วยังสามารถใช้งาน Router แบบ 2 in 1 ที่เป็นทั้ง Router เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและ Access Point กระจายสัญญาณ WIFI ได้ในเครื่องเดียว

  • Access Point แบบ Enterprise เป็น Access Point ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อกระสัญญาณ WIFI อย่างเดียวเท่านั้น เหมาะสำหรับใช้งานสำนักงานขนาดใหญ่หรือห้างที่มีคนเยอะๆ เพราะรองรับผู้ใช้จำนวนมาก ราวๆ 100 คน/เครื่อง แล้วยังกระจายสัญญาณที่เสถียรและคงที่มากว่า Access Point แบบใช้งานทั่วไปและมีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย

การเลือก Access Point จากการกระจายสัญญาณ

  • Access Point แบบกระจายสัญญาณแนวราบ เป็น Access Point ที่กระจายสัญญาณรอบทิศทางเป็นแนวราบทำให้สามารถกระจายสัญญาณ WIFI ได้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วทั้งพื้นที่การกระจายสัญญาณ

  • Access Point แบบกระจายสัญญาณแนวดิ่ง เป็น Access Point ที่เน้นใช้งานเฉพาะจุด เพราะสามารถปรับทิศทางเสาสัญญาณไปยังจุดที่ต้องการให้สัญญาณแรงขึ้นได้ จุดที่เสาสัญญาณหันเข้าหาจะสามารถใช้งาน WIFI ได้อย่างเสถียรมากกว่าจุดอื่นๆ

ประโยชน์ของ Access Point

  • Access point สามารถทำให้ระบบการเชื่อมต่อแบบไร้สายนั้น มีความสะดวกอย่างมากๆ สามารถทำให้เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้จากแทบทุกที่ ขอเพียงแค่อยู่ใกล้ๆ Access point เท่านั้น

Keyลัดในการใช้ windows

Keyลัดในการใช้ windows

ลบคำ

Key ลัดในการใช้ Windows

1.กด Ctrl+Backspace จะเป็นการลบคำทีละคำจากข้างหน้า

2.กด Ctrl+Delete  จะเป็นการลบคำทีละคำจากข้างหลัง

3.กด Alt+Backspace จะเป็นการย้อนกลับจากการลบ

4.กด Windows+Spaceber จะเป็นการเปลี่ยนภาษา

5.กด Windows+K จะเป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบเร่งด่วน

6.กด Windows+Ctrl+D จะเป็นการเพิ่ม Virtual Desktop

7.กด Windows+Ctrl+ลูกศรซ้ายหรือขวา จะเป็นการสลับ Virtual Desktop

8.กด Windows+Ctrl+F4 จะเป็นการปิดหน้าต่าง Virtual Desktop ปัจจุบัน

9.กด Alt+Tad จะเป็นการสลับจอ/โปรแกรม

10.กด Ctrl+Alt+Tad จะเป็นการดูโปรแกรมทั้งหมด

11.กด Ctrl+Y จะเป็นการคืนค่าล่าสุด

12.กด Ctrl+F4 จะเป็นการปิดหน้าต่างที่เปิดใช้งาน

13.กด Windows+D จะเป็นการซ่อนหน้า Desktop

VLAN คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

VLAN คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

VLAN หรือ แลนเสมือน

  • VLAN ย่อมาจากคำว่า Virtual Local Area Network

VLAN คือ

  • เทคโนโลยีที่ใช้จำลองการสร้างเครือข่าย Lan โดยไม่ขึ้นอยู่กับการต่อกายภาพ แต่เป็นการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ Network ซึ่งจะมีพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว เรียกว่า Trunk port โดยผ่าน Switch เป็นตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งจะสื่อสารกันได้ในวง Network เดียวกันแต่ก็สามารถสื่อสารต่างวง Network กันได้โดยการดู Mac address ของตัว Switch และเชื่อมต่อกับ Switch ในวง Network ที่ต้องการจะสื่อสาร

ชนิดของ VLAN มี 3 ชนิดดังนี้

Static VLAN หรือ Port-Based Membership คือ
  • เป็นการพิจารณาความเป็นสมาชิกของ VALN โดยจะดูพอร์ตของ Switch ที่เชื่อมอยู่กับ Client แม้จะเป็น Switch เดียวกันแต่ถ้าพอร์ตทั้งสองนั้นอยู่คนละ VLAN กันก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้
1. Dynamic VLAN คือ
  • เป็นการกำหนด VLAN ให้กับเครื่อง Client โดยพิจารณาจากหมายเลข Mac address ของ Client เมื่อ Client ทำการเชื่อมต่อไปยัง Switch ตัวอื่นๆ Switch ที่รันด้วย Dynamic VLAN นี้ก็จะไปหาหมายเลข VLAN ที่ Map กับ Mac address จาก Database ส่วนกลางมาให้
2. Trunk port คือ
  • เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Switch ตัวอื่นๆ ที่ต้องการให้เป็นสมาชิกของ VLAN ต่างๆ กันให้มาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูล traffic ของหลายๆ VLAN ให้กระจายไปยัง Switch ตัวอื่นๆ ที่มีพอร์ตที่ทำกำหนดค่า VLAN เดียวกันกับ Switch หรือที่เรียกกันว่า Uplink Port (เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่ Connect กับ Switch ตัวอื่นๆ และเป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Router ทำหน้าที่ Route traffic)
3. Broadcast Domain คือ
  • เกี่ยวข้องกับการทำงานของ Switch เป็นหลักโดยปกติ Switch นั้นจะทำหน้าที่ตัดสินใจเลือกพอร์ตปลายทางให้กับ frame ที่รับเข้ามาซึ่งจะส่งออกไปทาง port ไหน โดยพิจารณาจาก Switch table แต่ถ้า Switch table เหล่านั้นไม่มีข้อมูล้กี่ยวข้องกับ frame เลยจะส่ง frame นั้นออกไปยังทุก port ที่มีการเชื่อมต่อ Switch
อุปกรณ์แต่ละอุปกรณืสามารถแบ่งได้ ดังนี้
  • Layer 1 Hub ทุก port จะถือว่าอยู่ในวง Network เดียวกันจึงมีเพียง 1 Broadcast Domain
  • Layer 2 Switch ในส่วนของ Switch หากไม่มีการแบ่ง VLAN Switch จะมี 1 Broadcast เหมือนกับ Hub แต่ถ้า Switch มีการแบ่ง VLAN Switch แล้วจะมีจำนวนของ Broadcast Domain เท่ากับ Switch ที่แบ่งไว้
  • Layer 3 Router ทำหน้าที่ Route ไปยังวง Network อื่นๆจึงทำให้ 1 port ของ Router จะเท่ากับ 1 Broadcast Domain ในกรณีที่มีการ Sub Interface จะทำให้ 1 port ของ Router นั้นมีจำนวน Broadcast Domain ได้มากกว่า 1 Broadcast Domain
AbbVortVLAN

ประโยชน์ของ VLAN

  • มีความปลอดภัยในระบบ Network เนื่องจากในแต่ละ VLAN ไม่สามารถสื่อสารผ่านกันได้
  • สามารถขยายระบบ Network ได้ง่ายโดยการเดินสายจาก Switch เพียงเส้นเดียว
  • สามารถไปยัง VLAN อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องทำการเครื่องย้าย Switch หรือสายแลน เพียงแค่เปลี่ยนการตั้งค่าบน Port ของ Switch ในอยู่ในวง VLAN ที่ต้องการ
  • ง่ายต่อการจัดการบริหารจัดการ
  • มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
  • จำกัดขอบเขตการแพร่กระจายของ Boradcast traffic ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ Network

ข้อเสียของ VLAN

  • ถ้าแบ่งด้วยพอร์ต เมื่อเปลี่ยนพอร์ตใหม่จะต้องทำการตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง
  • ถ้าแบ่งด้วย Mac address ต้องกำหนดค่า Mac address ให้เป็นสมาชิกของ VLAN ก่อนเสมอ
Network คืออะไร

Network คืออะไร

Network หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่สามารถสื่อสาร เชื่อมต่อ และรับส่งข้อมูลต่อกันได้ โดยระบบ Network นั้นจะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูลกันได้ทั่วโลกซึ่งก็คืออินเตอร์เน็ต ที่มีการใช้โปรโตคอลในการสื่อสารโดยมีการกำหนดที่อยู่ Address ซึ่งก็คือ IP ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อให้การรับและส่งข้อมูลถึงกันได้ง่ายขึ้น

องค์ประกอบของ Network

องค์ประกอบของ Network ประกอบไปด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ โปรแกรม สายไฟ สายเคเบิล รวมถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ทั้งแบบมีสายและไร้สาย รวมถึงยังต้องใช้โปรโตคอลในการสื่อสารเพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเข้าใจคำสั่งในการเรียกใช้งาน การรับส่งข้อมูล การเรียกใช้แอพพลิเคชั่นและโปรแกรมต่างๆ ได้ สำหรับเครือข่ายของ ระบบ Network แบบไร้สายที่นิยมใช้ในองค์กรปัจจุบัน จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้

  • Switch เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในเครือข่าย เพื่อให้เครือข่ายใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  • Router เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายเครือข่ายไว้ด้วยกัน
  • Access Point (AP) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายขอบเขตของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WIFI) ให้ไกลมากยิ่งขึ้น