by supatpong wongaumnuaykul | Mar 23, 2020 | ความรู้ทั่วไป
สำหรับเทคโนโลยี 5G นั้นเป็นมากกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่เพียงแค่เราจะดาวน์โหลดหรืออัปโหลดไว้ขึ้น แต่ยังก่อให้เกิดบริการใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Smart Car, eHealth, Connected House, Smart Grids หรืออื่น ๆ
เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ยุค Internet of Things (IOTs) หรือ Connected World อย่างสมบูรณ์แบบ จึงจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วสูงสุดของเทคโนโลยี 5G (ปัจจุบัน 4G ประมาณ 100 Mbps) ให้สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 10 Gbps โดยอาจโอนถ่ายข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 100 Mbps ไปยังอุปกรณ์กว่าล้านชิ้นในเวลาเดียวกันภายใต้รัศมี 1 กิโลเมตรได้เลยทีเดียว
ความเกี่ยวข้องของ 5G (อันที่จริงรวมถึง 3G/4G ก็ด้วย) ถึงแม้ว่ามันจะไร้สายแต่ในฐานะผู้ให้บริการ (Services Provider) ก็จำเป็นที่จะต้องมีสายอยู่ดี ดังตัวอย่างของภาพด้านบนที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างฐาน และคิดว่าหลายคนคงเคยเจอกันที่ว่าบางครั้งสัญญาณเต็ม แต่อินเตอร์เน็ตกลับช้าเหมือนเต่า
ดังนั้นก็จึงมาเกี่ยวเนื่องกับสายสัญญาณนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น LAN (UTP), Fiber Optic, CCTV (Coaxial) ตามลักษณะงานที่ใช้ (รวมถึงงบประมาณและอุปกรณ์ต่อพ่วง) และแน่นอนว่าคุณภาพของสายเองก็มีผลโดยตรงต่อคุณภาพการใช้งานสำหรับตัวอย่างด้านบนเป็นภาพของสาย CAT5e เส้นเล็กที่เรารู้จักกัน เปรียบเทียบกับ CAT8 ที่จะมาเป็นหนึ่งในมาตรฐานของอนาคต ซึ่งจะใช้แบรนด์วิดท์ 2,000 MHz โอนถ่ายข้อมูลได้ความเร็วสูงสุด 25GBaste-T/40GBaste-T (Class I/Class II) แต่มีระยะทางสูงสุดเพียง 30 เมตร แต่ถ้าหากคุณมองว่า CAT8 มันเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ลองมาดูกับสาย CAT6 ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันมากกว่า โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่ Cross Filler และทำความเร็วได้สูงสุด 10 Gbps ที่ระยะทาง 55 เมตร หากใครต้องการวางระบบในบ้านหรือออฟฟิศแนะนำให้เริ่มต้นที่ตัวนี้เลยครับ ดีกว่าเริ่มต้นที่ CAT5e
จากตารางด้านบนเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนของ CAT5e กับ CAT6 แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันแค่ 5% เท่านั้นเอง แลกกับมาตรฐานที่สูงกว่าและความเร็วที่มากกว่า ส่วนเรื่องสาย CAT8 ที่กำลังจะเป็นอนาคตคาดว่าจะเป็นที่นิยมในปี 2020 หรือช่วงเวลาเดียวกับ 5G ที่เคยได้กล่าวในตอนแรกนั่นเองและไม่เพียงแต่สาย LAN สำหรับ Fiber Optic เองก็มาแรงไม่แพ้กันเนื่องจาก เล็กและมีน้ำหนักเบาเหมาะกับการใช้งานเป็น Back Bone สำหรับ Riserบรรจุข้อมูลได้จำนวนมหาศาลไร้สัญญาณรบกวนส่วนข้อเสียก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการบำรุงรักษาที่ยาก (กรณีขาดหรือแตกหัก) รวมทั้งมีความแข็งแรงต่ำกว่า และไม่สามารถโค้งงอได้เหมือนกับสายที่เป็นทองแดงทั่วไป โดยหากต้องการใช้งานในอาคารที่ต้องการการโค้งงอของสายมาก ก็สามารถใช้สาย Fiber Optic ชนิดที่ใช้ในอาคารได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง
FTTx หรือ FTTH (Fiber-to-the-home) เทคโนโลยีที่ว่ากันว่าจะมาฆ่า ADSL ในบ้านเรานั้น ตอนนี้ทาง TOT ก็เป็นลูกค้าหลักของ Interlink เช่นเดียวกัน และเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย Bandwidth ที่สูงในระดับหลายร้อย Mbps ทั้งในความเร็วในฝั่งดาวโหลดและฝั่งอัพโหลด และผู้ใช้งานตามบ้านหรือออฟฟิศยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ผ่าน
High Speed INTERNET Gbps, IPTV, IP Phone,VDO Conference,SMART Building/Home Solutions
ซึ่งเราก็ต้องคอยดูกันต่อไปว่าผู้ให้บริการ จะสามารถทำค่าบริการให้ถูกจนจูงใจ หรือขยายพื้นที่ให้บริการจนสามารถฆ่าอินเตอร์เน็ตแบบสายทองแดงได้หรือไม่? เนื่องจากในอนาคตความต้องการใช้ปริมาณข้อมูล ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวไม่ต่างจาก 3G > 4G > 5G นั่นเอง
by supatpong wongaumnuaykul | Mar 17, 2020 | ความรู้ทั่วไป
ตู้ Rack เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไอที ที่หลายๆ คนมักมองข้าม เพียงเพราะคิดว่าแค่ระบบเครือข่ายใช้งานได้ดี แต่เอาเข้าจริงตู้ Rack ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมาก ทั้งเรื่องของความสะดวกในการจัดการ-จัดเก็บอุปกรณ์ เรื่องความปลอดภัย และที่สำคัญอุปกรณ์ Network, Server รวมๆ กันทุกตัวไม่ใช่ราคาถูกๆ ลงทุนสักหน่อยซื้อตู้ Rack มาวางให้เรียบร้อย เราคิดว่าคุ้มกว่าเยอะ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ประเภทของตู้ RACK
– Tower Rack แบบตั้งพื้น ตู้ Rack แบบตั้งพื้น มักมีขนาดตั้งแต่ 15U-45U (U ย่อมาจากคำว่า Unit Rack) สามารถจัดเก็บอุปกรณ์ได้หลากหลาย และรองรับน้ำหนักได้มากกว่าตู้ประเภทอื่นๆ สามารถเปิด-ปิดตู้ได้ทั้ง 4 ด้าน พร้อมขาตั้งและชุดล้อเลื่อนแบบ 360 องศา เพื่อการเคลื่อนย้ายได้สะดวก แถมยังสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มเติมได้ค่อนข้างเยอะ
– Open Rack แบบเปิด หรือเรียกอีกอย่างว่า Network Rack เป็นตู้แบบเปิดโล่ง ระบายอากาศได้ดี จุดเด่นที่สำคัญคือน้ำหนักเบาและราคาถูก แต่รับน้ำหนักได้ค่อนข้างจำกัด
– Wall Rack แบบติดผนัง เหมาะสำหรับการติดตั้งบนผนัง วางแขวน หรือว่าวางบนชั้น ใส่อุปกรณ์จำนวนไม่มากนัก โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 6U-12U และสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มได้
* นอกเหนือจากตู้ Rack ประเภทต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เรายังสามารถแบ่งย่อยเป็นประเภทต่างๆ ได้ลงไปอีกเช่น แบ่งตามวัสดุการผลิต, ตามลักษณะการระบายอากาศ หรือแบ่งตามลักษณะการดีไซน์ เป็นต้น (ประตูหน้ากระจกนิรภัย, ประตูหลังเจาะช่องระบายอากาศรูปรังผึ้ง)
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ข้อดีของตู้ Rack
1. ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง ลองนึกภาพอุปกรณ์วางกระจัดกระจายกับสายสัญญาณม้วนพันกันไปมา คงเป็นภาพที่ไม่น่ามองแน่ๆ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์และเซิร์ฟเวอร์ในตู้ Rack (แบบวางซ้อนๆ กัน) นั้น ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ไปได้เยอะ
2. ประหยัดเวลาในการจัดการ, แก้ไข หากระบบล่ม การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายในตู้ Rack จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบ ระบุปัญหา และเข้าแก้ไขได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
3. เดินสายได้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์และการเชื่อมต่อเป็นจำนวนมาก การจัดการสายสัญญาณและสายไฟต่างๆ ให้เรียบร้อยสวยงาม ถือเป็นสิ่งจำเป็น
4. ส่งต่อ, มอบหมายงานได้ง่าย รวดเร็ว แน่นอนว่าหากทุกอย่างเป็นระบบระเบียบเรียบร้อย การส่งต่อ มอบหมาย หรือสอนงาน ก็จะเป็นเรื่องง่ายทันที
5. ลดปัญหาเรื่องฝุ่นละออง, ความชื้น ข้อนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าการติดตั้งในตู้ Rack สามารถช่วยป้องกันทั้งเรื่องฝุ่นและเรื่องน้ำ
6. ป้องกันสัตว์กัดแทะ หนูกับสายไฟดูเหมือนจะเป็นของคู่กัน บางทีอาจจะมีพรรคพวกมาเพิ่มทั้งแมลงสาบหรือมด การติดตั้งตู้ Rack ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แน่นอน
7. ป้องกันอุบัติเหตุ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอแม้กระทั่งการเดินสะดุดสายไฟ
8. ระบายความร้อน ข้อสุดท้ายสำคัญมาก เพราะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อน ยิ่งหากติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มด้วยแล้ว ยิ่งดีเข้าไปใหญ่
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
หลักการจัดวางอุปกรณ์ในตู้ Rack
– ขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์ (กว้าง ยาว ลึก)
– อุปกรณ์ที่ต้องมอนิเตอร์ ควรวางในระดับสายตา
– สายสื่อสารควรจัดวางไว้ด้านบน ตามมาตรฐาน IDC
– สายไฟควรจัดวางไว้ด้านล่างหรือแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนสายสื่อสาร
– อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดยาว ควรวางไว้ด้านล่าง
*ตรวจสอบให้เรียบร้อย ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดของเรานั้น ใช้พื้นที่กี่ U (1U=1.75 นิ้ว หรือ 4.445 เซนติเมตร) อย่าลืมเผื่อความสูงของตู้ (จำนวน U) ไว้บ้าง เพราะคุณอาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มในอนาคต
* ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องมอนิเตอร์ไว้ในระดับสายตา เพื่อสะดวกแก่การแก้ไขตรวจสอบ
* ขนาดความลึกของตู้ Rack ควรเผื่อไว้ประมาณ 15-20 เซนติเมตร สำหรับการโค้งงอของสายสัญญาณ โดยวัดจากอุปกรณ์ที่มีขนาดลึกที่สุด
* อุปกรณ์ที่ค่อนข้างหนักและมีขนาดยาว ควรวางไว้ด้านล่าง เช่น UPS เนื่องจากตู้ Rack ส่วนใหญ่มีพัดลมระบายอากาศอยู่ด้านบนบริเวณหลังคา จึงไม่ควรวางไว้สูงๆ เพราะจะบังพัดลมระบายอากาศ
* เพื่อป้องกันการเกิดสัญญาณรบกวน สายสัญญาณและสายไฟจึงไม่ควรมัดรวมกัน
by จำปาศักดิ์ ภาชนะ | Mar 11, 2020 | ความรู้ทั่วไป
Microsoft Office Online ใช้ได้จริงหรือ ?
ในหัวข้อนี้จะสอนวิธีการใช้งาน Microsoft Office โดยที่เราไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมชุด Office ลงบนคอมพิวเตอร์ เพียงแค่เครื่องของเราต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งาน Microsoft Word Online ได้ง่ายๆ ตอนนี้สามารถใช้งาน 4 โปรแกรมเท่านั้น คือ Word Excel Powerpoint และ OneNote ส่วนหน้าตาออฟฟิตออนไลน์นั้น จะคล้ายๆ กับ Office 2013 ที่ติดตั้งบนเครื่องของเราเพียงแค่เครื่องมือบางอย่างจะถูกตัดออกไป และเหลือเพียงเครื่องมือสำคัญๆ ที่ใช้งานกันบ่อยๆ นั้นเอง
วิธีการเข้าใช้งาน Office Online
- เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ www.hotmail.com จากนั้นกรอกบัญชีผู้ใช้เข้าระบบอีเมล์ให้เรียบร้อย และกดปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้“
- เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของระบบอีเมล์ Outlook ในขั้นตอนต่อไปคลิกที่ลูกศรชี้ลง ตามภาพด้านล่าง

- จะเห็นได้ว่า Office Online นั้น จะปรากฏอยู่ 4 โปรแกรม นั้นคือ Word,Excel,Powerpoint,OneNote ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างวิธีใข้งานของ Word Online ให้คลิกเลือกที่ “Word Online“

- หลังจากนั้นเราก็จะเข้าสู่หน้าต่าง Word Online และจะมีให้เลือกอยู่ 3 ตัวเลือก
- เอกสารเปล่าใหม่ คือการสร้างเอกสารขึ้นมาใหม่โดยเป็นเอกสารเปล่าทั้งหมด
- เรียกดูเทมเพลต คือการใช้งานแม่แบบหรือธีม ที่ทาง Office.com มีไว้ให้ใช้งานกับงานเอกสารของเรา
- เอกสารล่าสุดบน OneDrive คือการนำไฟล์งานเอกสารที่อยู่บน OneDrive มาใช้งาน
- ในตัวอย่างนั้นจะคลิกเลือก “เอกสารเปล่าใหม่“

เข้าสู่หน้าต่างการทำงานของออฟฟิตออนไลน์นั้นจะเห็นได้ว่าตาจะคล้ายๆกับ Word 2013 ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และจะเห็นได้ว่า Ribbon ในส่วนของ Word Online จะมีความแตกต่างจาก Ribbon ในส่วนของ Word 2013 ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก

ต่อไปเราลองของมาดูในส่วนของ “Tab ไฟล์” กันบ้าง ซึ่งส่วนนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน จะใช้จัดการเรื่องการ บันทึก การพิมพ์งานเอกสาร
- เมื่อเราเลือกเมนู “ใหม่” จะเป็นการสร้างงานเอกสารใหม่ ซึ่งจะมีรูปแบบเทมเพลตให้เลือกใช้งาน
- เมื่อเราเลือกเมนู “เปิด” จะเป็นการเปิดงานเอกสาร ซึ่งงานเอกสารต้องอยู่ใน OneDrive เท่านั้น
- เมื่อเราเลือกเมนู “บันทึกเป็น” จะเป็นการบันทึกงานเอกสารโดยการ “ดาวน์โหลด” ลงบนเครื่องคอมดพิวเตอร์แทน
- เมื่อเราเลือกเมนู “พิมพ์” จะเป็นการพิมพ์งานเอกสารออกสู่เครื่องพิมพ์

หน้าตาของ Word Online กับ Word 2013 ฟังก์ชั่นการใช้งาน เครื่องมือต่างๆ และการใช้คงไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนที่แตกต่างกันก็คือการบันทึกไฟล์งานเอกสารเท่านั้น ซึ่งลักษณะของ Excel,Powerpoint,OneNote,Online ก็จะคล้ายกับของ Word นั้นเอง
by supatpong wongaumnuaykul | Mar 10, 2020 | ความรู้ทั่วไป
ST Connector ประเภทนี้มีอัตราการสูญเสียกำลังแสงเพียงแค่ไม่เกิน 0.5 dB เท่านั้น วิธีการเชื่อมต่อก็เพียงสอดเข้าไปที่รู Connector แล้วบิดตัวเพื่อให้เกิดการล็อกตัวขึ้น เพิ่มความทนทาน แข็งแรง ทำให้ไม่เกิดปัญหาจากการสั่นสะเทือน และหัวชนิดนี้ ยังถูกนำมาใช้กับระบบ LAN Hub หรือ Switch และการใช้งานสำหรับสาย Fiber Optic ชนิด Single Mode และ Multimode มากที่สุดอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน หัว ST Connector ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว
SC Connector เป็นหัวที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากใช้ง่ายเพราะเป็นหัวแบบถอดเข้าถอดออกได้ พิเศษกว่านั้น SC Connector เป็นชนิดปรับแกนเส้นใยนำแสงได้ด้วย และเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อ Fiber Optic ภายในอาคารสำนักงาน ซึ่งเครือข่าย LAN ชนิดนี้ยังเหมาะสำหรับงานที่ต้องการถอดเปลี่ยน Connector แบบรวดเร็ว โดยไม่สนใจความแน่นหนาของ Connector
FC Connector หัวนี้ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป โดยส่วนมาก Connector ชนิดนี้ จะถูกนำไปใช้งานทางด้านเครือข่ายโทรศัพท์ เนื่องจาก FC Connector ชนิดนี้อาศัยการขันเกลียวเพื่อยึดติดกับหัวปรับ ซึ่งข้อดีก็คือการเชื่อมต่อที่แน่นหนา ทนทาน และแข็งแรง แต่การเชื่อมต่ออาจต้องเสียเวลามากหน่อย
LC Connector มักใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูงมาก หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางแสง (Optical Module) ภายในองค์กร เป็นหัวที่มีขนาดเล็กนิยมใช้ต่อเข้ากับ Converter, GBIC หรือ SFP แต่ถ้าหากแบบคู่ ก็จะเรียก Duplex แบบเดี่ยวเรียก Simple ซึ่งก็ถือว่าเป็นหัวเชื่อมต่อที่ใช้งานง่ายมาก ทั้งยังสะดวก ราคาถูก มีการสูญเสียที่ต่ำมากและกินไฟน้อย มีทั้งแบบ Single Mode และ Multimode ซึ่ง LC Connector ถือเป็นการเข้าหัวสายที่นิยมมากในปัจจุบัน
by จำปาศักดิ์ ภาชนะ | Mar 4, 2020 | ความรู้ทั่วไป
วิธีแปลงไฟล์รูปแบบภาพ
by supatpong wongaumnuaykul | Mar 4, 2020 | ความรู้ทั่วไป
สาย LAN (UTP) คืออะไร
สาย LAN หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการว่า สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) เป็นสายนำสัญญาณชนิดหนึ่ง ที่มีตัวนำสัญญาณเป็นทองแดงบิดตีเกลียวกันเป็นคู่ (Twisted Pairs) โดยทั่วไปใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งข้อมูล หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง เช่น Network Switch, Hub, รวมไปถึง Router ก็ได้เช่นกัน ในส่วนของหัวที่ใช้เชื่อมต่อสาย LAN นั้น เราเรียกว่า RJ45
สาย LAN (UTP) มีกี่ประเภท สาย LAN (UTP) สามารถแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะการจำแนก เช่น
แบ่งตามลักษณะการติดตั้ง
- ชนิดติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)
สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายในอาคารนั้น เปลือกนอกมักนิยมทำจากวัสดุ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและสามารถป้องกันการลามไฟได้ นอกจากนี้ได้มีข้อกำหนดหรือมาตรฐานป้องกันทางด้านอัคคีภัย จึงต้องมีการใส่สารพิเศษเข้าไป ทำให้สามารถแบ่งชนิดของสายภายในอาคารที่ใช้กันแพร่หลาย 4 ชนิดด้วยกัน
– CM (Communication Metallic)เป็นสายที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ในแนวราบ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่นการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring)
– CMR (Communication Metallic Riser)สายชนิดนี้สามารถป้องกันการลามไฟทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มักใช้ในการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft)
– CMP (Communication Metallic Plenum)เป็นสายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือบริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน (Plenum Space) แต่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้
– LSZH (Low Smoke Zero Halogen)สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งเหมือน CMR แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเมื่อเกิดอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อยและไม่ก่อให้เกิดสารพิษ
- ชนิดติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)
สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายนอกอาคารนั้น จะมีเปลือกนอกทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่สึกกร่อน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้ ดังนั้นเราควรเลือกสายให้ถูกต้องตามชนิดของการใช้งาน
แบ่งตามลักษณะการป้องกันสัญญาณรบกวน
- ชนิดไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Unshield Twisted Pair (UTP)
เป็นสายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน โดยตัวนำสัญญาณจะมี 8 เส้น (4คู่) เป็นทองแดงแท้ นิยมใช้กับงานระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป
- ชนิดมีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Foil Twisted Pair (UTP)
เป็นสายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบมีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน นิยมใช้งานในพื้นที่ ที่มีสัญญาณรบกวนสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ติดตั้งผ่านเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง ปลั๊กไฟ ฯลฯ
แบ่งตาม Bandwidth ที่รองรับได้
- Category 5E (CAT 5E)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ พัฒนามาจากสาย CAT 5 เดิม ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 100-200 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
- Category 6 (CAT 6)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 55 เมตร
- Category 6A (CAT 6A)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 500 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
- Category 8 (CAT 8)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 30 เมตร
Patch Cord
ประเภทสุดท้ายคือสาย LAN สำเร็จรูปแบบแกนฝอย โค้งงอและยือหยุ่นได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการหัก งอ ม้วน ของสาย โดยปกติสาย Patch Cord จะมีความยาวประมาณ 1-20 เมตร มักผลิตหลายสีเพื่อให้แยกแยะสายได้ง่าย ใช้สำหรับเชื่อมต่อจาก Patch Panel ไปยัง Network Switch หรือ เชื่อมต่อจาก Box Outlet RJ-45 ตัวเมีย ไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ