VLAN หรือ แลนเสมือน
- VLAN ย่อมาจากคำว่า Virtual Local Area Network
VLAN คือ
- เทคโนโลยีที่ใช้จำลองการสร้างเครือข่าย Lan โดยไม่ขึ้นอยู่กับการต่อกายภาพ แต่เป็นการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ Network ซึ่งจะมีพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว เรียกว่า Trunk port โดยผ่าน Switch เป็นตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งจะสื่อสารกันได้ในวง Network เดียวกันแต่ก็สามารถสื่อสารต่างวง Network กันได้โดยการดู Mac address ของตัว Switch และเชื่อมต่อกับ Switch ในวง Network ที่ต้องการจะสื่อสาร
ชนิดของ VLAN มี 3 ชนิดดังนี้
Static VLAN หรือ Port-Based Membership คือ
- เป็นการพิจารณาความเป็นสมาชิกของ VALN โดยจะดูพอร์ตของ Switch ที่เชื่อมอยู่กับ Client แม้จะเป็น Switch เดียวกันแต่ถ้าพอร์ตทั้งสองนั้นอยู่คนละ VLAN กันก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้
1. Dynamic VLAN คือ
- เป็นการกำหนด VLAN ให้กับเครื่อง Client โดยพิจารณาจากหมายเลข Mac address ของ Client เมื่อ Client ทำการเชื่อมต่อไปยัง Switch ตัวอื่นๆ Switch ที่รันด้วย Dynamic VLAN นี้ก็จะไปหาหมายเลข VLAN ที่ Map กับ Mac address จาก Database ส่วนกลางมาให้
2. Trunk port คือ
- เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Switch ตัวอื่นๆ ที่ต้องการให้เป็นสมาชิกของ VLAN ต่างๆ กันให้มาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูล traffic ของหลายๆ VLAN ให้กระจายไปยัง Switch ตัวอื่นๆ ที่มีพอร์ตที่ทำกำหนดค่า VLAN เดียวกันกับ Switch หรือที่เรียกกันว่า Uplink Port (เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่ Connect กับ Switch ตัวอื่นๆ และเป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Router ทำหน้าที่ Route traffic)
3. Broadcast Domain คือ
- เกี่ยวข้องกับการทำงานของ Switch เป็นหลักโดยปกติ Switch นั้นจะทำหน้าที่ตัดสินใจเลือกพอร์ตปลายทางให้กับ frame ที่รับเข้ามาซึ่งจะส่งออกไปทาง port ไหน โดยพิจารณาจาก Switch table แต่ถ้า Switch table เหล่านั้นไม่มีข้อมูล้กี่ยวข้องกับ frame เลยจะส่ง frame นั้นออกไปยังทุก port ที่มีการเชื่อมต่อ Switch
อุปกรณ์แต่ละอุปกรณืสามารถแบ่งได้ ดังนี้
- Layer 1 Hub ทุก port จะถือว่าอยู่ในวง Network เดียวกันจึงมีเพียง 1 Broadcast Domain
- Layer 2 Switch ในส่วนของ Switch หากไม่มีการแบ่ง VLAN Switch จะมี 1 Broadcast เหมือนกับ Hub แต่ถ้า Switch มีการแบ่ง VLAN Switch แล้วจะมีจำนวนของ Broadcast Domain เท่ากับ Switch ที่แบ่งไว้
- Layer 3 Router ทำหน้าที่ Route ไปยังวง Network อื่นๆจึงทำให้ 1 port ของ Router จะเท่ากับ 1 Broadcast Domain ในกรณีที่มีการ Sub Interface จะทำให้ 1 port ของ Router นั้นมีจำนวน Broadcast Domain ได้มากกว่า 1 Broadcast Domain
ประโยชน์ของ VLAN
- มีความปลอดภัยในระบบ Network เนื่องจากในแต่ละ VLAN ไม่สามารถสื่อสารผ่านกันได้
- สามารถขยายระบบ Network ได้ง่ายโดยการเดินสายจาก Switch เพียงเส้นเดียว
- สามารถไปยัง VLAN อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องทำการเครื่องย้าย Switch หรือสายแลน เพียงแค่เปลี่ยนการตั้งค่าบน Port ของ Switch ในอยู่ในวง VLAN ที่ต้องการ
- ง่ายต่อการจัดการบริหารจัดการ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- จำกัดขอบเขตการแพร่กระจายของ Boradcast traffic ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ Network
ข้อเสียของ VLAN
- ถ้าแบ่งด้วยพอร์ต เมื่อเปลี่ยนพอร์ตใหม่จะต้องทำการตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง
- ถ้าแบ่งด้วย Mac address ต้องกำหนดค่า Mac address ให้เป็นสมาชิกของ VLAN ก่อนเสมอ