สำหรับเทคโนโลยี 5G นั้นเป็นมากกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่เพียงแค่เราจะดาวน์โหลดหรืออัปโหลดไว้ขึ้น แต่ยังก่อให้เกิดบริการใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Smart Car, eHealth, Connected House, Smart Grids หรืออื่น ๆ

เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ยุค Internet of Things (IOTs) หรือ Connected World อย่างสมบูรณ์แบบ จึงจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วสูงสุดของเทคโนโลยี 5G (ปัจจุบัน 4G ประมาณ 100 Mbps) ให้สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 10 Gbps โดยอาจโอนถ่ายข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 100 Mbps ไปยังอุปกรณ์กว่าล้านชิ้นในเวลาเดียวกันภายใต้รัศมี 1 กิโลเมตรได้เลยทีเดียว

ความเกี่ยวข้องของ 5G (อันที่จริงรวมถึง 3G/4G ก็ด้วย) ถึงแม้ว่ามันจะไร้สายแต่ในฐานะผู้ให้บริการ (Services Provider) ก็จำเป็นที่จะต้องมีสายอยู่ดี ดังตัวอย่างของภาพด้านบนที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างฐาน และคิดว่าหลายคนคงเคยเจอกันที่ว่าบางครั้งสัญญาณเต็ม แต่อินเตอร์เน็ตกลับช้าเหมือนเต่า

ดังนั้นก็จึงมาเกี่ยวเนื่องกับสายสัญญาณนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น LAN (UTP), Fiber Optic, CCTV (Coaxial) ตามลักษณะงานที่ใช้ (รวมถึงงบประมาณและอุปกรณ์ต่อพ่วง) และแน่นอนว่าคุณภาพของสายเองก็มีผลโดยตรงต่อคุณภาพการใช้งานสำหรับตัวอย่างด้านบนเป็นภาพของสาย CAT5e เส้นเล็กที่เรารู้จักกัน เปรียบเทียบกับ CAT8 ที่จะมาเป็นหนึ่งในมาตรฐานของอนาคต ซึ่งจะใช้แบรนด์วิดท์ 2,000 MHz โอนถ่ายข้อมูลได้ความเร็วสูงสุด 25GBaste-T/40GBaste-T (Class I/Class II) แต่มีระยะทางสูงสุดเพียง 30 เมตร แต่ถ้าหากคุณมองว่า CAT8 มันเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ลองมาดูกับสาย CAT6 ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันมากกว่า โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่ Cross Filler และทำความเร็วได้สูงสุด 10 Gbps ที่ระยะทาง 55 เมตร หากใครต้องการวางระบบในบ้านหรือออฟฟิศแนะนำให้เริ่มต้นที่ตัวนี้เลยครับ ดีกว่าเริ่มต้นที่ CAT5e

จากตารางด้านบนเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนของ CAT5e กับ CAT6 แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันแค่ 5% เท่านั้นเอง แลกกับมาตรฐานที่สูงกว่าและความเร็วที่มากกว่า ส่วนเรื่องสาย CAT8 ที่กำลังจะเป็นอนาคตคาดว่าจะเป็นที่นิยมในปี 2020 หรือช่วงเวลาเดียวกับ 5G ที่เคยได้กล่าวในตอนแรกนั่นเองและไม่เพียงแต่สาย LAN สำหรับ Fiber Optic เองก็มาแรงไม่แพ้กันเนื่องจาก เล็กและมีน้ำหนักเบาเหมาะกับการใช้งานเป็น Back Bone สำหรับ Riserบรรจุข้อมูลได้จำนวนมหาศาลไร้สัญญาณรบกวนส่วนข้อเสียก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการบำรุงรักษาที่ยาก (กรณีขาดหรือแตกหัก) รวมทั้งมีความแข็งแรงต่ำกว่า และไม่สามารถโค้งงอได้เหมือนกับสายที่เป็นทองแดงทั่วไป โดยหากต้องการใช้งานในอาคารที่ต้องการการโค้งงอของสายมาก ก็สามารถใช้สาย Fiber Optic ชนิดที่ใช้ในอาคารได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง

FTTx หรือ FTTH (Fiber-to-the-home) เทคโนโลยีที่ว่ากันว่าจะมาฆ่า ADSL ในบ้านเรานั้น ตอนนี้ทาง TOT ก็เป็นลูกค้าหลักของ Interlink เช่นเดียวกัน และเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย Bandwidth ที่สูงในระดับหลายร้อย Mbps ทั้งในความเร็วในฝั่งดาวโหลดและฝั่งอัพโหลด และผู้ใช้งานตามบ้านหรือออฟฟิศยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ผ่าน

High Speed INTERNET Gbps, IPTV, IP Phone,VDO Conference,SMART Building/Home Solutions

ซึ่งเราก็ต้องคอยดูกันต่อไปว่าผู้ให้บริการ จะสามารถทำค่าบริการให้ถูกจนจูงใจ หรือขยายพื้นที่ให้บริการจนสามารถฆ่าอินเตอร์เน็ตแบบสายทองแดงได้หรือไม่? เนื่องจากในอนาคตความต้องการใช้ปริมาณข้อมูล ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวไม่ต่างจาก 3G > 4G > 5G นั่นเอง